Page 9 - คู่มือบริหารความเสี่ยง คณะแพทยศาสตร์
P. 9

6


                                                        ส่วนที่ 2

                                           แนวทางการบริหารความเสี่ยง



               2.1 วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง

                       คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ก าหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับ
               วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ของคณะฯ ดังนี้

                       1.  เพื่อให้ผลการด าเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
                       2.  เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก และเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กร และหาวิธีจัดการที่
                          เหมาะสมในการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
                       3.  สร้างกรอบและแนวทางในการด าเนินงานให้แก่บุคลากรในองค์กรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการความไม่แน่นอน

                          ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
                       4.  เพื่อให้มีระบบในการติดตามตรวจสอบผลการด าเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆที่อาจ
                          เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
                       5.  เพิ่มมูลค่าให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร

               2.2 ความส าคัญและประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง

                       การบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบของการก ากับดูแลองค์การที่ดี เพราะนอกจากจะสนับสนุนให้คณะฯ สามารถ
               ด าเนินงานได้บรรลุวิสัยทัศน์ และพันธกิจแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและความน่าเชื่อถือให้แก่คณะฯ ให้ความมั่นใจในการดูและ
               ปกป้องทรัพย์สินของคณะ ให้ความมั่นใจต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพของรับบ
               งาน อันน าไปสู่ความยั่งยืนของคณะฯ


               2.3 ความหมายและค าจ ากัดความที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง
                      ความเสี่ยงในการบริหารองค์กร หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบในด้านลบต่อ
               การบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร
                      ระบบบริหารความเสี่ยง หมายถึง ระบบการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม รวมทั้งกระบวนการด าเนินงานต่าง ๆ
               โดยลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่จะท าให้เกิดความเสียหายเพื่อให้ระดับของความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ใน
               ระดับที่สามารถรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยค านึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
               ของหน่วยงานเป็นส าคัญ
                      การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึง กระบวนการซึ่งถูกก าหนดขึ้นเพื่อให้คณะกรรมการ
               ผู้บริหาร และบุคลากรขององค์กรน าไปใช้ในการก าหนดกลยุทธ์และปฏิบัติงาน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้รับการออกแบบให้
               สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ประเมินผลกระทบ และก าหนดวิธีการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ย อมรับได้ เพื่อให้
               เกิดความเชื่อมั่นในระดับหนึ่งว่าการด าเนินงานในองค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
                      ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นแล้วส่งผลให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์
               ซึ่งปัจจัยที่ท าให้เกิดขึ้นอาจมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกคณะฯ เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ การ
               ขยายตัวหรือการหดตัวทางเศรษฐกิจ ความต้องการของผู้รับบริการ เป็นต้น
                      โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง
                      ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง
                      ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของ
               แต่ละปัจจัยเสี่ยง แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14